อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี (ทุ่งหันตรา) |
|
|
อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี เนื้อที่ทั้งหมด 143 ไร่
เป็นสวนสาธารณะในเมืองใหญ่
เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งเรียนรู้ของดี 16 อำเภอ
การให้การศึกษาพระราชกรณียกิจที่ทรงเสด็จมาในพื้นที่
อำเภอต่างๆแหล่งความรู้เรื่องดอกโสน
ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดให้ประชาชนทั้งสายพันธุ์
และการนำไปใช้ประโยชน์ และยังเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจ
โดยจะปรับพื้นที่บริเวณเนินดินสร้างพระพุทธรูปปางห้ามญาติ
ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ประจำพระชนมวาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขนาดความสูงขององค์พระ 9.84 เมตร
( เป็นพระปางประจำวันเกิดวันจันทร์ 9
หมายถึง รัชกาลที่ 9 และ 84 หมายถึง ครบ 84 พรรษา )
ฐานพระมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 84 เมตร
สร้างเป็นขั้นบันไดรอบฐาน 7 ขั้น (หมายถึง พระชนมพรรษา 7 รอบ)
ฉากหลังขององค์พระเป็นภาพนูนต่ำที่แสดงถึงพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปิดทองหลังพระ
ที่เป็นหลักธรรมว่า ไม่หวังผลตอบแทน แผนที่ |
พระราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย (ทุ่งมะขามหย่อง)
|
|
|
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยเป็นโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ที่ทรงมีน้ำพระราชหฤทัย มุ่งที่จะเทิดทูนพระเกียรติคุณ
และพระมหาวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของ
สมเด็จพระสุริโยทัยให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์แห่งศักดิ์
และศรีจารึกเกียรติประวัติ
อยู่คู่ชาติไทยตราบชั่วกาลนาน
จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย
เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2534
ส่วนองค์พระราชานุสาวรีย์และประติมากรรมภาย
ในพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยนั้น
ออกแบบและปั้นรูปโดย คุณไข่มุกด์ ชูโต
ตั้งอยู่ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ แผนที่ |
พระราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
|
|
โครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ก่อสร้างบริเวณทุ่งภูเขาทองเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อการพักผ่อน และมีการปลูกสวนป่าเพื่อเป็นพื้นที่สีเขียว อยู่ริมถนนสายอยุธยา-อ่างทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา ห่างจากเกาะเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กม. บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง ในอดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว วีรบุรุษของไทย นับไม่ถ้วนได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องอธิปไตยและ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นไท เมื่อ พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระทำศึกอย่างเหี้ยมหาญ เป็นผลให้อริราชศัตรูต้องพ่ายแพ้ไป พื้นที่นี้จึงได้รับการพัฒนาสร้างเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์สถาน และรำลึกถึงมหาวีรกรรม ในครั้งนั้นพระบรมราชานุสาวรีย์มีพื้นที่ทั้งหมด 1,075 ไร่
ประกอบด้วยสระเก็บน้ำพื้นที่จัดกิจกรรม มีภูมิทัศน์บริเวณรอบอนุสาวรีย์สวยงาม สวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน พื้นที่รับน้ำทำการเกษตร |
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระเจ้าอู่ทอง |
|
|
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทองประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระราม กับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่ง ของคนธรรมดาหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ และรมด้วยน้ำยาสีเขียว ในพระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศา ฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2513 |
พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย |
|
|
พระเจดีย์ศรีสุริโยทัยอยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตกเป็น โบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่ง หนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยุธยาเพราะสถานที่นี้มิได้เป็นเพียงอนุสรณ์สถาน
ของวีรกษัตริย์ตรีไทยพระองค์แรก เท่านั้นหากแต่ยังหมายถึงการยืนยัน เกียรติแห่งสตรีไทย ที่ได้รับการยกย่องจากสังคมไทยมาแต่ครั้งบรรพกาลอีกด้วย
แผนที่ |
อนุสรณ์สถานปรีดีพนมยงค์ |
|
|
อนุสรณ์สถานปรีดีพนมยงค์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมือง ตรงข้ามวัดพนมยงค์
เป็นอนุสรณ์สถานแด่ท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนในการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขท่านได้รับประกาศเกียรติคุณ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2542 อนุสาวรีย์ปรีดีพนมยงค์เป็นรูปสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอุดมการณ์อันสำคัญ
ยิ่งของท่าน 3 ประการคือ สันติภาพ เสรีไทย และประชาธิปไตย สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประกอบด้วย เสากลม 6 ต้น รองรับหลังคาเรือนไทย ตั้งอยู่ในสระวงกลมมีน้ำล้อมรอบ ภายในอนุสรณ์สถานประกอบด้วย
- เรือนไทยพิพิธภัณฑ์ เดิมเป็นเรือนแพทรงปั้นหยา มีอายุ100ปี
- เรือนไทยหอประชุม เป็นเรือนไทยประวัติศาสตร์อายุ 120 ปี แผนที่
|
เฉกอะหมัด (เจ้าพระยาบวรราชนายก) |
|
|
เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะห์อิสนาอะชะรี
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลปานีเนะ ชาฮาร์ ในเมืองกุม
ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของศาสนาอิสลามในประเทศอิหร่าน
ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชท่านเฉกอะหมัดและ
บริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย
อยู่ที่ตำบลท่ากายี ท่านค้าขายจนกระทั่ง มีฐานะเป็นเศษฐีใหญ่
ในกรุงศรีอยุธยา ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน
อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
|
|
|
|
|
|
|
|